พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
พระราชประวัติพระบิดาสหกรณ์
ทรงมีพระนามว่าพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงเป็ นพระโอรสในกรม พระราชวังวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระปิ่ นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับเจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก ชูโต) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙
• พ.ศ. ๒๔๓๖ ขณะพระชันษาได้ ๑๖ ปี จึงเข้ารับราชการในตําแหน่ง นายเวรกระทรวงธรรมการ และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการ ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็น กรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้ เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
• พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ ประพาสยุโรป และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่ม จํารัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็น เวลา ๒ ปี
• เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษทรงเข้ารับ ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตําแหน่งเป็นผู้ช่วย อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี (ปัจจุบันคือ กรมบัญชีกลาง)
• ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงย้ายเป็ นปลัดกรมธนบัตรและเจริญ ก้าวหน้าเป็นผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรม พาณิชย์และสถิติพยากรณ์
• พ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศพระองค์เจ้ารัชนี เป็นพระองค์เจ้า ต่างกรมมีพระนามจาฤกในพระสุพรรณบัฎว่าพระราชวรวงศ์ เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณมุกสิกนาม ทรงศักดินา ๑๑,๐๐๐ ไร่ ตามพระราชกําหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระราชวังบวร
• ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสถิติพยากรณ์ขึ้นเป็นกรม บัญชาการชั้นมีอธิบดีเป็นหัวหน้า อยู่ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหา สมบัติ มีชื่อว่า “กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์” ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นอธิบดี
• ด้วยคํานึงว่าชาวนาเป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่งของการพาณิชย์ เพราะข้าวเป็ นสินค้าสําคัญของประเทศ แต่ชาวนามีหนี ้สิน มาก ทํานาได้ข้าวมามากน้อยเท่าใดก็ต้องขายใช้หนี ้เกือบ หมด ถึงกระนั้นหนี้สินก็ยิ่งพอกพูน กรมพาณิชย์และสถิติ พยากรณ์เห็นว่าการช่วยกู้ฐานะชาวนาให้พ้นอุปสรรค คือ วิธีการจัดตั้งสหกรณ์
กําเนิดสหกรณ์แห่งแรกของไทย
• เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนําวิธีการสหกรณ์ เข้า มาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่ง แรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จํากัดสินใช้ ณ ตําบลวัดจันทร์ อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ ไฟเซน(สหกรณ์สําหรับ ชาวนาในประเทศเยอร์มัน ตั้งโดย Friedrich Wilhelm Raiffisen )
• ต่อมาได้จัดขึ้นที่อําเภอบ้านหมี่ และอําเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ ที่อําเภอบางปะอิน ในจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา รวมสหกรณ์ที่ได้ จัดตั ้งขึ้น ๖๐ สมาคม ในระหว่าง ๔ ปี ที่ได้จัดสหกรณ์ขึ้นทดลองนั้น ปรากฏชัดว่า สหกรณ์เป็ นงานที่จัดขึ้นได้โดยสะดวก เพราะคนไทย เป็นคนที่เรียนรู้ของใหม่ได้เร็ว ประกอบด้วยความซื่อสัตย์ ต่อกัน และกัน มีคุณความดีทุกประการที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการตั้ง สหกรณ์ ให้มีผลดีแก่พลเมืองผู้เป็นชาวนา กรมพาณิชย์และสถิติ พยากรณ์ได้รับความรู้เช่นนั้น จึงได้วางหลักการตั้งสหกรณ์ให้ แพร่หลายไปในพระราชอาณาจักร
• พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงสิ้นพระชนม์ด้วย พระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เวลา ๑๕.๓๐น. สิริพระชนมายุได้ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน
• ทรงเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ (วรวรรณ) ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปพันธ์พงศ์ ทรงมีพระราช ธิดาและพระโอรส คือ
• หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต
• หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
วันสหกรณ์แห่งประเทศไทย
• เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๒๗ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติกําหนดให้ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "